เด็กหลุดจากระบบ

เด็กหลุดจากระบบ การศึกษา นักวิชาการ คาดเทอม 1/66 พุ่ง 3 เท่า

จากปัญหา เด็กหลุดจากระบบ การศึกษา ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา ได้เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2566 ถือเป็นปีการศึกษาที่โรงเรียนกลับมาเปิดปกติ หลังจากต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

แต่ท่ามกลางความปกติ การศึกษายังคงได้รับผลกระทบจากปีการศึกษา 2565 อยู่ เพราะในปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยอมโรค เด็กเสี่ยงเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เพิ่มมากขึ้น เด็กคุณภาพด้อยลงทั้งระบบ และมีเด็กออกกลางคันเพิ่งขึ้นเป็น 3 เท่า จากเดิมที่ออกกลางคันกว่า 60,000 คน พุ่งเป็น 230,000 คน แม้ในปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะจัดโครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการติดตาม เด็กหลุดจากระบบ การศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งดำเนินการได้ดีระดับหนึ่ง คือ สามารถตามเด็กกลับมาเรียนได้เกือบครบ

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 1/2566 คือการศึกษาไทยจะขาดคนที่ดูแลรับผิดชอบอีกหลายเดือน เพราะอยู่ในช่วงของเลือกตั้ง ซึ่งต้องรอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และรอรัฐมนตรีว่าการ ศธ.คนใหม่ เรียกได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดช่องว่างทางนโยบาย เกิดช่องว่างที่ไม่มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.มาดูแลรับผิดชอบในด้านการศึกษาโดยตรง จากงานวิจัยที่ลงพื้นที่สำรวจใน 5 จังหวัด คือ จ.ราชบุรี จ.พิษณุโลก จ.ยะลา จ.ขอนแก่น และกรุงเทพฯ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีนโยบาย หรือทุนการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือเด็ก เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ถึง 82.18% ดังนั้น ในภาคเรียนที่ 1/2566 จะมีเด็กเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาถึง 82% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง หาก ศธ.ไม่มีนโยบายรองรับ เด็กจะหลุดจากระบบการศึกษายาว และอาจจะไม่กลับมาเลย

นักวิชาการ คาดเทอม 1/66 เด็กหลุดจากระบบการศึกษาพุ่ง 3 เท่า

“สถานการณ์เด็กหลุดจากระบบในปีการศึกษา 2566 น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะผมไม่มั่นใจว่า ศธ.จะดำเนินโครงการพาน้องกลับมาเรียนต่อหรือไม่ และเมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ลงพื้นที่โรงเรียนขนาดเล็ก พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีมาตรการรองรับ และช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กเลย ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณมาพัฒนาน้อยมาก แล้วในปี 2566 จะหาคุณภาพการศึกษาได้จากที่ไหน เพราะการศึกษาอาจจะเจอความเสี่ยง ความรุนแรง และวิกฤตมากขึ้น ใครจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบอนาคตของเด็ก โดยเฉพาะเด็กกว่า 2.9 ล้านคน ที่ยากจนขัดสน แม้ว่าขณะนี้จะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ และรัฐมนตรีว่าการ ศธ.คนใหม่มาทำงาน แต่ในช่วงสูญญากาศนี้ เด็กจะได้รับงบประมาณมาพัฒนาการศึกษาหรือไม่ เด็กจะหลุดจากระบบเพิ่มขึ้นหรือไม่ เกิดการระบาดของโควิด-19 ในเด็กเพิ่มขึ้นหรือไม่ ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่เตรียมการในการรับมือ อาจทำให้การศึกษาไทยถอยหลังมากยิ่งขึ้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า ดังนั้น แต่ละพรรคการเมืองจะต้องเตรียมหาคนที่จะมาดูแลนโยบายด้านการศึกษาได้แล้ว โดยจะต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เข้าใจปัญหาวิกฤตการศึกษาในขณะนี้ ว่าเรากำลังเผชิญอะไร

ซึ่งตนมองว่าขณะนี้แต่ละพรรคการเมืองควรจะบอกได้แล้ว ว่าในพรรคของตนใครจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.และจะมีนโยบายอะไร ที่เหมาะสมกับวิกฤตปัญหาที่รอการเยียวยา และช่วยเหลือการศึกษาอยู่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ latabernadeldiablo.com

แทงบอล

Releated